ค้นหา
ราคาหุ้นวันนี้
Stock Ticker
- Loading stock data...
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
คณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเพิ่มความโปร่งใส เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการ และเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ ดำเนินการจัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการ เป็นลายลักษณ์อักษร ตลอดจนปรับปรุงนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และคู่มือจริยธรรมธุรกิจ ให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม การดำเนินธุรกิจ และเป็นสากลมากขึ้น ซึ่งกำหนดให้มีการทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการปีละครั้ง โดยในปี พ.ศ. 2561 คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัทฯ ได้ทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการ เป็นฉบับแก้ไขฉบับที่ 16 นับจากปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา โดยได้ดำเนินการปรับปรุงเพิ่มเติมหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ให้มีความชัดเจน และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการ ไว้ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน มุ่งมั่นที่จะนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาใช้ในการดำเนินกิจการ และจัดโครงสร้างการบริหาร เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงที่ดีระหว่าง คณะกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย
2. ผู้ถือหุ้นจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันและมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ และมีช่องทางในการสื่อสารกับบริษัทฯ ได้อย่างชัดเจน
3. คณะกรรมการบริษัทฯ จะจัดให้มีการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในการเสนอเพิ่มวาระการประชุมล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงการกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน
4. คณะกรรมการบริษัทฯ จะจัดให้มีการเปิดเผยสารสนเทศ ทั้งในเรื่องการเงิน และเรื่องที่มิใช่เรื่องการเงินอย่างเพียงพอ เชื่อถือได้ ทันเวลา โปร่งใส เพื่อให้ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ได้รับสารสนเทศอย่างเพียงพอและเท่าเทียมกัน
5. คณะกรรมการบริษัทฯ จะจัดให้มีหน่วยงานที่สามารถสื่อสารกับผู้ถือหุ้น นักลงทุน หน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงการให้ข้อมูลสารสนเทศทั่วไปแก่ผู้สนใจและผู้มีส่วนได้เสีย
6. คณะกรรมการบริษัทฯ จะส่งเสริมให้มีกระบวนการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมทั้งกำหนดช่องทางการสื่อสารระหว่างกัน
7. คณะกรรมการบริษัทฯ อาจแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยอื่น เพื่อพิจารณากลั่นกรองงานเฉพาะเรื่องตามความเหมาะสม
8. คณะกรรมการบริษัทฯ มีบทบาทในการกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมายทางการเงิน ความเสี่ยง แผนงาน รวมทั้งควบคุมดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินงานตามนโยบาย และแผนงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. คณะกรรมการบริษัทฯ มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้จัดทำจริยธรรมธุรกิจเป็นลายลักษณ์อักษร และส่งเสริมให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ปฏิบัติตามแนวจริยธรรมที่ดี
10. คณะกรรมการบริษัทฯ จะจัดให้มีการประเมินผลของตนเองเป็นรายปี เพื่อสร้างกรอบการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ
11. คณะกรรมการบริษัทฯ จะจัดให้มีระบบคัดสรรบุคลากรที่จะเข้ามารับผิดชอบในตำแหน่งบริหาร โดยมีกระบวนการสรรหาที่โปร่งใส และเหมาะสม
จรรยาบรรณทางธุรกิจ
บริษัทฯ ได้ยึดมั่นในการกระทำสิ่งที่ถูกต้อง เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจของกรรมการและพนักงานทุกคน โดยบริษัทฯ ได้ประกาศบังคับใช้จรรยาบรรณพนักงานและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของบริษัทฯ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม ทั้งการปฏิบัติต่อบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม สาธารณชน และสังคม บริษัทฯ มอบหมายให้แผนกตรวจสอบภายในและนักลงทุนสัมพันธ์ ติดตามดูแลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณอย่างสม่ำเสมอ และได้กำหนดโทษทางวินัยในกรณีละเมิดจรรยาบรรณไว้ด้วย
จรรยาบรรณ / จริยธรรมของคณะกรรมการบริษัทฯ
1. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น
คณะกรรมการบริษัทฯ จะถือปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
1.1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา โดยอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายและระเบียบของบริษัทฯ โดยยืดถือจรรยาบรรณนี้ ในการกระทำในทุกกิจกรรม การตัดสินใจ และการทำธุรกรรมต่างๆ เราจะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์เป็นที่ตั้งมั่น
1.2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยทักษะ คุณวุฒิ และความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานอย่างเชี่ยวชาญ ตามหลัก วิชาชีพที่ได้พึงปฏิบัติกันอย่างสม่ำเสมอ
1.3 ไม่แสวงหาประโยชน์ให้ตนเอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูลภายในใดๆ ที่ยังมิได้เปิดเผยแก่สาธารณะ
1.4 มุ่งมั่นที่จะเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศอย่างถูกต้องครบถ้วน เพียงพอ ทันเวลา เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน และระมัดระวังไม่ให้ผู้ถือหุ้นเกิดความสำคัญผิดหรือสับสนในข้อมูลสารสนเทศ
2. จรรยาบรรณว่าด้วยการปฏิบัติต่อข้อมูลและสารสนเทศ
คณะกรรมการบริษัทฯ จะถือปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
2.1 ตรวจสอบรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรายการที่เกี่ยวโยงกันในการทำธุรกรรมที่มี ขนาดเกินกว่า 2 ล้านบาท ทุกไตรมาส
2.2 มุ่งมั่นที่จะรักษาความลับของบริษัทฯ ไม่นำข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือเปิดเผยแก่บุคคลภายนอก
2.3 ไม่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วง 1 เดือน ก่อนที่ข้อมูลงบการเงินหรือข้อมูลอื่นจะเผยแพร่ต่อสาธารณชน
3. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อภาครัฐ
คณะกรรมการบริษัทฯ จะถือปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
3.1 ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ ของหน่วยงานกำกับดูแล อย่างเคร่งครัด
4. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อลูกค้า
คณะกรรมการบริษัทฯ จะถือปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
4.1 รับประกันหนังสือที่ผลิตโดยบริษัทฯ หากพบข้อบกพร่องสามารถเปลี่ยนคืนได้เสมอ
4.2 มุ่งมั่นที่จะสร้างความพึงพอใจในสินค้า ที่เหมาะสมกับราคาอย่างสูงสุด
4.3 มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติต่อข้อมูลและสารสนเทศของลูกค้า ด้วยการปกป้องรักษาความลับ และรักษาความไว้วางใจ เสมือนหนึ่งการปฏิบัติต่อข้อมูลและสารสนเทศของตนเอง
4.4 จัดให้มีช่องทางเพื่อให้ลูกค้าสามารถร้องเรียน เกี่ยวกับสินค้าและบริการผ่านทางอีเมล์ id@se-.com และ
comment@se-ed.com เพื่อให้สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
4.5 มุ่งมั่นที่จะนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างถูกต้อง เพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์
4.6 ไม่กำหนดเงื่อนไขการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกค้า
5. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบกับคู่ค้า คู่แข่งทางการค้า และเจ้าหนี้การค้า
5.1 ความรับผิดชอบต่อคู่ค้า
5.1.1 ปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทนที่เป็น ธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
5.1.2 การกำหนดนโยบายทางการตลาดของบริษัทฯ จะคำนึงในวิถีทางที่จะทำให้ธุรกิจหนังสือในภาพรวม อยู่รวมกันได้และเติบโตไปด้วยกันเสมอ
5.1.3 ปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไข ได้ จะรีบแจ้งให้คู่ค้าทราบ เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไข โดยใช้หลักความสมเหตุสมผล
5.1.4 มุ่งมั่นที่จะรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับคู่ค้าและคู่สัญญาที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนในเรื่องของคุณภาพ สินค้าที่เหมาะสมกับมูลค่าสินค้า และให้ความเชื่อถือซึ่งกันและกัน
5.2 ความรับผิดชอบต่อคู่แข่งทางการค้า
5.2.1 ปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี
5.2.2 ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต หรือ ไม่เหมาะสม
5.2.3 ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้า ด้วยการกล่าวหาในทางร้าย
5.3 ความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้การค้า
5.3.1 ปฏิบัติต่อเจ้าหนี้การค้าอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทนที่ เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
5.3.2 ปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไข ได้ จะรีบแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไข โดยใช้หลักความสมเหตุสมผล
6. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อพนักงาน
คณะกรรมการบริษัทฯ จะถือปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
6.1 มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติต่อข้อมูลและสารสนเทศของลูกค้า คู่ค้า พนักงาน กรรมการ ผู้ถือหุ้น ด้วยการปกป้องรักษา ความลับ และรักษาความไว้วางใจ เสมือนหนึ่งการปฏิบัติต่อข้อมูลและสารสนเทศของตนเอง
6.2 ไม่แสวงหาประโยชน์ให้ตนเอง และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยใช้ข้อมูลภายในใดๆ ที่ยังมิได้เปิดเผยแก่สาธารณะ
6.3 พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ซื่อตรง โปร่งใส
6.4 มุ่งมั่นที่จะสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่สอดคล้องต่อความต้องการและความ เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อมาร่วมงานกับบริษัทฯ ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการจูงใจ และสนับสนุนการเลื่อน ตำแหน่งและการให้ผลตอบแทน เนื่องจากบริษัทฯ เล็งเห็นว่าบุคลากรคือทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สำคัญ
6.5 มีจุดมุ่งหมายเดียวกันที่จะร่วมกันผลักดันให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และจะร่วมกัน ดูแล ทรัพยากรต่างๆ ของบริษัทฯ เสมือนเป็นของตนเอง
6.6 ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานให้ปลอดภัย
6.7 ดำเนินการให้พนักงานทุกระดับเข้าใจในเรื่องจรรยาบรรณของพนักงาน รวมทั้งบทบาทหน้าที่ซึ่งพนักงาน สามารถปฏิบัติได้ เพื่อให้พนักงานปฏิบัติตามกรอบของจรรยาบรรณอย่างทั่วถึง
6.8 รับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากพนักงานทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน
7. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
คณะกรรมการบริษัทฯ จะถือปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
7.1 มุ่งมั่นที่จะพัฒนาความรู้สู่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
7.2 ปลูกจิตสำนึกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกระดับ
7.3 ส่งเสริมการใช้และการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
จรรยาบรรณ / จริยธรรมของผู้บริหารและพนักงาน
1. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น
ผู้บริหาร และพนักงานจะถือปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
1.1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา โดยอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายและระเบียบของบริษัทฯ โดยยืดถือจรรยาบรรณนี้ ในการกระทำในทุกกิจกรรม การตัดสินใจ และการทำธุรกรรมต่างๆ เราจะดำเนินธุรกิจด้วยความ ซื่อสัตย์เป็นที่ตั้งมั่น
1.2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยทักษะ คุณวุฒิ และความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานอย่างเชี่ยวชาญ ตามหลักวิชาชีพที่ได้พึงปฏิบัติกันอย่างสม่ำเสมอ
1.3 ไม่แสวงหาประโยชน์ให้ตนเอง และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยใช้ข้อมูลภายในใดๆ ที่ยังมิได้เปิดเผยแก่สาธารณะ
1.4 มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติต่อข้อมูลและสารสนเทศของผู้ถือหุ้น ด้วยการปกป้องรักษาความลับ และรักษาความไว้วางใจเสมือนหนึ่งการปฏิบัติต่อข้อมูลและสารสนเทศของตนเอง
1.5 มุ่งมั่นที่จะให้สิทธิประโยชน์และปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
2. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อภาครัฐ
ผู้บริหาร และพนักงานจะถือปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
2.1 ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ ของหน่วยงานกำกับดูแล อย่างเคร่งครัด
3. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อลูกค้า
ผู้บริหาร และพนักงานจะถือปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
3.1 รับประกันหนังสือที่ผลิตโดยบริษัทฯ หากพบข้อบกพร่องสามารถเปลี่ยนคืนได้เสมอ
3.2 มุ่งมั่นที่จะสร้างความพึงพอใจในสินค้า ที่เหมาะสมกับราคาอย่างสูงสุด
3.3 มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติต่อข้อมูลและสารสนเทศของลูกค้า ด้วยการปกป้องรักษาความลับ และรักษาความไว้วางใจ เสมือนหนึ่งการปฏิบัติต่อข้อมูลและสารสนเทศของตนเอง
3.4 จัดให้มีช่องทางเพื่อให้ลูกค้าสามารถร้องเรียน เกี่ยวกับสินค้าและบริการ เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ความรวดเร็ว
3.5 มุ่งมั่นที่จะนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างถูกต้อง เพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์
3.6 มุ่งมั่นที่จะให้บริการต่อลูกค้าทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน
4. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบกับคู่ค้า คู่แข่งทางการค้า และเจ้าหนี้การค้า
4.1 ความรับผิดชอบต่อคู่ค้า
4.1.1 ปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทนที่เป็น ธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
4.1.2 ปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ จะรีบแจ้งให้คู่ค้าทราบ เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไข โดยใช้หลักความสมเหตุสมผล
4.2 ความรับผิดชอบต่อคู่แข่งทางการค้า
4.2.1 ปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี
4.2.2 ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต หรือ ไม่เหมาะสม
4.2.3 ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้า ด้วยการกล่าวหาในทางร้าย
4.3 ความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้การค้า
4.3.1 ปฏิบัติต่อเจ้าหนี้การค้าอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทน ที่ เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
4.3.2 ปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ จะรีบแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไข โดยใช้หลักความสมเหตุสมผล
5. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อพนักงาน
ผู้บริหาร และพนักงานจะถือปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
5.1 ปฏิบัติงานและติดต่อสื่อสารบนพื้นฐานของความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยเชื่อมั่นว่าทุกฝ่ายจะทุ่มเท ความสามารถอย่างเต็มที่และทำหน้าที่อย่างดีที่สุด
5.2 มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติต่อข้อมูลและสารสนเทศของลูกค้า คู่ค้า พนักงาน กรรมการ ผู้ถือหุ้นด้วยการปกป้องรักษา ความลับ และรักษาความไว้วางใจ เสมือนหนึ่งการปฏิบัติต่อข้อมูลและสารสนเทศของตนเอง
5.3 ไม่แสวงหาประโยชน์ให้ตนเอง และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยใช้ข้อมูลภายในใดๆ ที่ยังมิได้เปิดเผยแก่สาธารณะ
5.4 พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ซื่อตรง โปร่งใส
5.5 มุ่งมั่นที่จะสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่สอดคล้องต่อความต้องการและความ เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อมาร่วมงานกับบริษัทฯ ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการจูงใจ และสนับสนุนการเลื่อนตำแหน่ง และการให้ผลตอบแทน เนื่องจากบริษัทฯ เล็งเห็นว่าบุคลากรคือทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สำคัญ
5.6 มีจุดมุ่งหมายเดียวกันที่จะร่วมกันผลักดันให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และจะร่วมกันดูแลทรัพยากรต่างๆ ของบริษัทฯ เสมือนเป็นของตนเอง
5.7 ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมการทำให้ปลอดภัย
5.8 เคารพในสิทธิของพนักงานอื่น
5.9 ไม่เรียกร้องของขวัญ ของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใด
5.10 กำหนดให้การให้ หรือการรับของขวัญ หรือของกำนัล หรือผลประโยชน์อื่นใด การเลี้ยง หรือการรับเลี้ยง กระทำ ได้ในวิสัยที่สมเหตุสมผล แต่ต้องไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของบริษัทฯ รวมถึงไม่ให้ หรือรับสินบนต่างๆ
5.11 รับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากพนักงานทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน
5.12 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด
6. จรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ผู้บริหาร และพนักงานจะถือปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
6.1 มุ่งมั่นที่จะพัฒนาความรู้สู่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
6.2 ปลูกจิตสำนึกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกระดับ
6.3 ส่งเสริมการใช้และการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อบังคับ
หมวดที่ 1 บททั่วไป
ข้อ 1. ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับของบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
ข้อ 2. คำว่า “บริษัท” ในข้อบังคับนี้หมายถึง บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
ข้อ 3. ข้อความอื่นที่มิได้กล่าวไว้ในข้อบังคับนี้ ให้ถือและบังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน จำกัด ทุกประการ
ในกรณีที่บริษัทหรือบริษัทย่อยตกลงเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือ รายการเกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทหรือบริษัทย่อยตามความหมายที่กำหนดตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน หรือการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน แล้วแต่กรณี ให้บริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีตามที่ประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ในเรื่องนั้นๆ ด้วย
หมวดที่ 2 การออกหุ้น
ข้อ 4. หุ้นของบริษัทเป็นหุ้นสามัญ มีมูลค่าหุ้นละหนึ่งบาท
ข้อ 5. ใบหุ้นของบริษัทนี้เป็นชนิดระบุชื่อผู้ถือหุ้น และต้องมีกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราของบริษัทที่จดทะเบียนไว้
ในกรณีที่หุ้นของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลัก-ทรัพย์ กรรมการอาจจะมอบหมายให้นายทะเบียนหุ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อแทนก็ได้
ข้อ 6. บริษัทจะออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท หรือนับแต่วันที่ได้รับชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วน ในกรณีที่บริษัทจำหน่ายหุ้นที่เหลือ หรือจำหน่ายหุ้นที่ออกใหม่ภายหลังจดทะเบียนบริษัท
ข้อ 7. ใบหุ้นฉบับใดสูญหาย ลบเลือน หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ถือหุ้นอาจขอให้บริษัทออกใบหุ้นใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยบริษัทจะออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นใหม่ภายใน 14 วัน นับแต่วันได้รับคำขอโดยให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าธรรมเนียมใบหุ้น ฉบับละ 5 บาท
ในกรณีใบหุ้นสูญหายหรือทำลาย ผู้ถือหุ้นจะต้องนำหลักฐานการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนหรือหลักฐานอื่นอันสมควรมาแสดงต่อบริษัทฯ กรณีใบหุ้นลบเลือนหรือชำรุด ผู้ถือหุ้นต้องเวนคืนใบหุ้นเดิมให้แก่บริษัท
ข้อ 8. บริษัทสามารถซื้อหุ้นของตนเองคืน หรือ รับจำนำหุ้นของบริษัทเองได้ โดยให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้พิจารณา เว้นแต่การซื้อหุ้นคืน หรือ รับจำนำหุ้น ไม่เกินร้อยละ 10 (สิบ) ของทุนที่ชำระแล้ว ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท
นอกจากกรณีตามวรรคแรก หลักเกณฑ์การซื้อหุ้นคืนของบริษัท หรือ การรับจำนำหุ้นของบริษัท ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติไว้
หมวดที่ 3 การโอนหุ้น
ข้อ 9. หุ้นของบริษัทโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด เว้นแต่
(1) การโอนหุ้นนั้นทำให้บริษัทเสียสิทธิและผลประโยชน์ที่บริษัทจะพึงได้รับตามกฎหมาย หรือ
(2) การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ในบริษัทเกินกว่าร้อยละ 30 ของหุ้นที่ออกและรับชำระ
แล้ว
ข้อ 10. การโอนหุ้นย่อมสมบูรณ์เมื่อผู้โอนได้สลักหลังใบหุ้น โดยระบุชื่อผู้รับโอนและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน และส่งมอบใบหุ้นให้แก่ผู้รับโอน
การโอนหุ้นใช้ยันบริษัทได้เมื่อบริษัทได้รับคำร้องขอให้ลงทะเบียนโอนหุ้นแล้ว และใช้ยันบุคคลภายนอกได้เมื่อบริษัทได้ลงทะเบียนการโอนหุ้นแล้ว
ในการนี้หากบริษัทเห็นว่าการโอนหุ้นนั้นถูกต้องตามกฎหมาย ให้บริษัทลงทะเบียนการโอนหุ้นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอนั้น หรือหากบริษัทเห็นว่าการโอนหุ้นนั้นไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ให้บริษัทแจ้งแก่ผู้ยื่นคำร้องภายใน 7 วัน
ข้อ 11. ในกรณีที่ผู้รับโอนหุ้นประสงค์จะได้รับใบหุ้นใหม่ ให้ร้องขอต่อบริษัทโดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับโอนหุ้น และมีพยาน 1 คน เป็นอย่างน้อย ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อนั้น พร้อมทั้งคืนใบหุ้นเดิมให้แก่บริษัทในการนี้หากบริษัทเห็นว่าการโอนหุ้นนั้นถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้บริษัทลงทะเบียนการโอนหุ้นภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับคำร้องขอ และให้บริษัทออกใบหุ้นให้ใหม่ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอนั้น
ข้อ 12. ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทตายหรือล้มละลาย บุคคลผู้มีสิทธิในหุ้นนั้น หากนำใบหุ้นมาเวนคืนพร้อมกับหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมายมาแสดงแก่บริษัทครบถ้วนแล้ว บริษัทจึงจะลงทะเบียนบุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นและออกใบหุ้นให้ใหม่ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้รับหลักฐานครบถ้วน
หมวดที่ 4 คณะกรรมการ
ข้อ 13. ให้บริษัทฯ มีคณะกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 (ห้า) คน และคณะกรรมการไม่น้อยกว่าสามในสี่ ของคณะกรรมการทั้งหมดเป็นสัญชาติไทย และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
ข้อ 14. กรรมการต้องเป็นบุคคลธรรมดา และ
(1) บรรลุนิติภาวะ
(2) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(3) ไม่เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระทำโดยทุจริต
(4) ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออก หรือ ปลดออกจากราชการ หรือองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ ฐานทุจริตต่อ
หน้าที่
ข้อ 15. ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการ ให้นับว่าผู้ถือหุ้นมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียงและผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะต้องใช้คะแนนเสียงของตนที่มีอยู่ทั้งหมดเลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้แต่จะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้
บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบสูงสุดตามลำดับลงมา เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากัน เกินจำนวนกรรมการที่จะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ให้เลือกโดยวิธีจับสลากเพื่อให้ได้จำนวนกรรมการที่จะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น
ข้อ 16. ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่ง 1 ใน 3 เป็นอัตรา ถ้าจำนวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วน 1 ใน 3
กรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรกและปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้นให้จับสลากกันว่าผู้ใดจะออก ส่วนในปีต่อ ๆ ไป ให้กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้น เป็นผู้ออกจากตำแหน่งกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับเลือกตั้งใหม่ได้
ข้อ 17. นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 14
(4) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติให้ออกตามข้อ 21
(5) ศาลมีคำสั่งให้ออก
ข้อ 18. กรรมการคนใดจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัท การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงบริษัท
กรรมการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่ง จะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้
ข้อ 19. ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามวาระให้คณะกรรมการเลือกผู้ถือหุ้นคนหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (ข้อ 14) เข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการคราวถัดไป เว้นแต่วาระของกรรรมการจะเหลือน้อยกว่าสองเดือน บุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนดังกล่าว จะอยู่ในตำแหน่งกรรมการได้ เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน
มติของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่
ข้อ 20. ตำแหน่งกรรมการแม้จะว่างไป แต่กรรมการที่มีตัวอยู่ย่อมทำกิจการได้ เว้นแต่กรรมการจะลดน้อยกว่าจำนวนที่จะเป็นองค์ประชุมตามข้อ 13 และ 25 กรรมการที่มีตัวอยู่ย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่เรื่องการจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อเลือกตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลงทั้งหมดเท่านั้น
ข้อ 21. ที่ประชุมผู้ถือหุ้น อาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ข้อ 22. กรรมการจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือไม่ก็ได้
ข้อ 23. ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ
ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรจะเลือกกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นรองประธานกรรมการก็ได้ รองประธานกรรมการมีหน้าที่ตามข้อบังคับในกิจการซึ่งประธานกรรมการมอบหมาย
ข้อ 24. คณะกรรมการบริษัท ต้องประชุมอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง ณ ท้องที่อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทหรือจังหวัดอื่นทั่วราชอาณาจักร หรือประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทเป็นสถานที่จัดการประชุม
ข้อ 25. ในการประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ามีรองประธานกรรมการ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธาน ถ้าไม่มีรองประธานกรรมการหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเป็นเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งมีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน เว้นแต่กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใดไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 26. ในการเรียกประชุมคณะกรรมการ ให้ประธานกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายส่งหนังสือนัดประชุมไปยังกรรมการไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันประชุม เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัทจะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีอื่นและกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้
กรรมการตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจร้องขอให้เรียกประชุมคณะกรรมการได้ โดยให้ประธานกรรมการกำหนดวันประชุมภายในสิบสี่วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ
ข้อ 27. กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ในกรณีที่บริษัทฯมีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือบริษัท
ย่อยของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามความหมายที่กำหนดไว้ในกฎระเบียบและข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากบริษัทฯจะตกลงเข้าทำนิติกรรมใดๆ ก็ตาม บริษัทฯต้องปฏิบัติตามประกาศและระเบียบตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน และหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยเกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัทจดทะเบียน
ข้อ 28. ห้ามมิให้กรรมการประกอบกิจการ เข้าเป็นหุ้นส่วนหรือเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลอื่นที่มีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท เว้นแต่จะแจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง
ข้อ 29. กรรมการต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า หากมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับบริษัท หรือถือหุ้นหรือหุ้นกู้เพิ่มขึ้นหรือลดลงในบริษัท หรือบริษัทในเครือ
ข้อ 30. กรรมการ 2 ท่าน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท จึงจะมีผลผูกพันกับบริษัทได้
คณะกรรมการสามารถกำหนดชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท
หมวดที่ 5 การประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ 31. คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมสามัญประจำปี ภายในสี่เดือน นับแต่วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชีของบริษัท
การประชุมผู้ถือหุ้นคราวอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว ให้เรียกว่าการประชุมวิสามัญ กรรมการจะเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้สุดแต่จะเห็นสมควร หรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด จะเข้าชื่อกันทำหนังสือขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องระบุเรื่องและเหตุผลในการที่ขอให้เรียกประชุมไว้ให้ชัดเจนในหนังสือดังกล่าวด้วย ในกรณีเช่นนี้ คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากผู้ถือหุ้น
การประชุมผู้ถือหุ้นอาจดำเนินการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ข้อ 32. ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นนั้น ให้คณะกรรมการจัดทำเป็นหนังสือนัดประชุม ระบุสถานที่ วัน เวลาระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณีรวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการในเรื่องดังกล่าว และจัดส่งให้ผู้ถือหุ้น และนายทะเบียนทราบ ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันประชุม โดยอาจส่งหนังสือนัดประชุมดังกล่าวโดยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ให้โฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุมในหนังสือพิมพ์ติดต่อกันสามวัน ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าสามวัน โดยบริษัทอาจใช้วิธีการโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนก็ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ข้อ 33. ในการประชุมผู้ถือหุ้น ต้องมีผู้ถือหุ้นและผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น (ถ้ามี) มาประชุมกันไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดและต้องมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายได้ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในกรณีที่ปรากฏว่าการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด เมื่อล่วงเวลานัดไปแล้วถึงหนึ่งชั่วโมง จำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาเข้าประชุมไม่ครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ หากว่าการประชุมผู้ถือหุ้นได้เรียกนัดเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอ การประชุมเป็นอันระงับไป ถ้าการประชุมผู้ถือหุ้นนั้นมิใช่เป็นการเรียกประชุมเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอ ให้นัดประชุมใหม่ และให้ส่งหนังสือประชุมไปยังผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันประชุม ในการประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม
ข้อ 34. ในการลงมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้นับว่าผู้ถือหุ้นมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียงมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นนั้นให้ประกอบด้วยคะแนนเสียงดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีปกติ ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้นและผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น (ถ้ามี) ซึ่งมา
ประชุมและออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีก
เสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
(2) ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นและผู้รับ
มอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น (ถ้ามี) ซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
(ก) การขายหรือโอนกิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่บุคคลอื่น
(ข) การซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัทอื่นหรือบริษัทเอกชนมาเป็นของบริษัท
(ค) การทำ แก้ไข หรือเลิกสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่ากิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญ
การมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าจัดการธุรกิจของบริษัท หรือการรวม กิจการกับบุคคลอื่นโดยมี
วัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรขาดทุนกัน
ข้อ 35. กิจการอันที่ประชุมสามัญประจำปีพึงกระทำมีดังนี้
(1) พิจารณารายงานของคณะกรรมการที่เสนอต่อที่ประชุมแสดงว่า ในรอบปีที่ผ่านมากิจการของบริษัทได้
จัดการไป
(2) พิจารณาและอนุมัติงบดุล
(3) พิจารณาจัดสรรเงินกำไร
(4) เลือกตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ออกตามวาระ
(5) แต่งตั้งผู้สอบบัญชี
(6) กิจการอื่น ๆ
หมวดที่ 6 การบัญชี การเงิน และการสอบบัญชี
ข้อ 36. รอบปีบัญชีของบริษัท เริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
ข้อ 37. บริษัทต้องจัดให้มีการทำและเก็บรักษาบัญชี ตลอดจนการสอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและต้องจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนอย่างน้อยครั้งหนึ่งในรอบ 12 เดือน อันเป็นรอบปีบัญชีของบริษัท
ข้อ 38. คณะกรรมการต้องจัดให้มีการทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน ณ วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชีของบริษัทเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญประจำปีเพื่อพิจารณาอนุมัติ งบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนนี้คณะกรรมการต้องจัดให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบให้เสร็จก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ 39. คณะกรรมการต้องจัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้ผู้ถือหุ้น พร้อมกับหนังสือนัดประชุมสามัญประจำปี
(1) สำเนางบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้ว พร้อมกับรายงานการตรวจสอบบัญชี
ของผู้สอบบัญชี
(2) รายงานประจำปีของคณะกรรมการ
ข้อ 40. ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไร ในกรณีที่บริษัทยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผล
เงินปันผลให้แบ่งตามจำนวนหุ้น หุ้นละเท่า ๆ กัน
คณะกรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เป็นครั้งคราว ในเมื่อเห็นว่า บริษัทมีผลกำไรสมควรพอที่จะทำเช่นนั้น และรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป
การจ่ายเงินปันผล ให้กระทำภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือคณะกรรมการลงมติแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ถือหุ้น และให้โฆษณาคำบอกกล่าวการจ่ายเงินปันผลนั้นในหนังสือพิมพ์ด้วย
ข้อ 41. บริษัทต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีส่วนหนึ่ง ไว้เป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปี หักด้วยยอดเงินขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองนี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน
ข้อ 42. ผู้สอบบัญชีต้องไม่เป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ ของบริษัท
ข้อ 43. ผู้สอบบัญชี มีอำนาจตรวจสอบบัญชี เอกสารและหลักฐานอื่นใด ที่เกี่ยวกับรายได้รายจ่าย ตลอดจนทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทในระหว่างเวลาทำการของบริษัทในการนี้ให้มีอำนาจสอบถาม กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ ของบริษัท และตัวแทนของบริษัท รวมทั้งให้ชี้แจงข้อเท็จจริงหรือส่งเอกสารหลัก-ฐานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทได้
ข้อ 44. ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัททุกครั้งที่มีการพิจารณางบดุล บัญชีกำไรขาดทุน และปัญหาเกี่ยวกับบัญชีของบริษัท เพื่อชี้แจงการตรวจสอบบัญชีต่อผู้ถือหุ้นและให้บริษัทจัดส่ง รายงานและเอกสารของบริษัท ที่ผู้ถือหุ้นจะพึงได้รับในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งนั้นแก่ผู้สอบบัญชีด้วย
หมวดที่ 7 บทเพิ่มเติม
ข้อ 45. ตราของบริษัทให้ใช้ดังที่ประทับไว้นี้
ข้อ 46. ข้อบังคับนี้หากมีที่ซึ่งจำเป็นหรือสมควรจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ก็ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาจัดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามกฎหมาย
วัตถุประสงค์บริษัท
(1) ซื้อ จัดหา รับ เช่า เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง ปรับปรุง ใช้ และจัดการโดยประการอื่นซึ่งทรัพย์สินใดๆ ตลอดจนดอกผลของทรัพย์สินนั้น
(2) ขาย โอน จำนอง จำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สินโดยประการอื่น
(3) เป็นนายหน้า ตัวแทน ตัวแทนค้าต่างในกิจการและธุรกิจทุกประเภท เว้นแต่ในธุรกิจประกันภัย การหาสมาชิกให้สมาคม และการค้าหลักทรัพย์
(4) กู้ยืมเงิน เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร นิติบุคคล หรือสถาบันการเงินอื่น และให้กู้ยืมเงิน หรือให้เครดิตด้วยวิธีการอื่น โดยจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งการรับ ออก โอน และสลักหลังตั๋วเงิน หรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้อย่างอื่น
(5) ทำการจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือแต่งตั้งตัวแทน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
(6) เข้าเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบในห้างหุ้นส่วน และเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดอื่น
(7) ประกอบกิจการค้า ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าวโพด งา ถั่ว พริกไทย ปอ นุ่น ฝ้าย ครั่ง ละหุ่ง ไม้ ยาง ผัก ผลไม้ ของป่า สมุนไพร หนังสัตว์ เขาสัตว์ สัตว์มีชีวิต พันธุ์สัตว์ทุกชนิด เนื้อสัตว์ชำแหละ น้ำตาล อาหารสัตว์ และพืชผลทางเกษตรทุกชนิด
(8) ประกอบกิจการค้า เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือกล เครื่องทุ่นแรง ยานพาหนะ เครื่องกำเนิดและเครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ พัดลม หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้า เครื่องสูบน้ำ เครื่องทำความร้อน เครื่องทำความเย็น เครื่องครัว เครื่องเหล็ก เครื่องทองแดง เครื่องทองเหลือง เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องเคหภัณฑ์ เครื่องเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ประปา รวมทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ของสินค้าดังกล่าวข้างต้น
(9) ประกอบกิจการค้าอาหารสด อาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป เครื่องกระป๋อง เครื่องปรุงรสอาหาร เครื่องดื่ม สุรา เบียร์ บุหรี่ และเครื่องบริโภคอื่น
(10) ประกอบกิจการค้าผ้า ด้าย เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับกาย เครื่องสำอาง เครื่องใช้และเครื่องมือเสริมความงาม และเครื่องอุปโภคอื่น
(11) ประกอบกิจการค้ายารักษาและป้องกันโรคสำหรับคนและสัตว์ เครื่องเวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และเภสัชกรรม ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช สารอาหารและยาบำรุงพืชและสัตว์ทุกชนิด เครื่องมือเครื่องใช้ในทางวิทยาศาสตร์
(12) ประกอบกิจการค้าทอง นาก เงิน เพชร พลอย และอัญมณีอื่น รวมทั้งวัตถุทำเทียมสิ่งดังกล่าว
(13) ประกอบกิจการค้ากระดาษ เครื่องเขียน แบบเรียน แบบพิมพ์ หนังสือ อุปกรณ์การเรียน เครื่องคำนวณ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์การพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ตู้เก็บเอกสาร และเครื่องใช้สำนักงานทุกชนิด
(14) ประกอบกิจการค้าวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในการก่อสร้าง เครื่องมือช่างทุกประเภท สี เครื่องมือทาสี เครื่องตกแต่งอาคารทุกชนิด
(15) ประกอบกิจการค้าพลาสติก หรือสิ่งอื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ทั้งที่อยู่ในสภาพวัตถุดิบหรือสำเร็จรูป
(16) ประกอบกิจการค้ายางดิบ ยางแผ่น หรือยางชนิดอื่นอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นยางพารา รวมตลอดถึงยางเทียม สิ่งทำเทียม วัตถุหรือสินค้าดังกล่าวโดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์
(17) ประกอบกิจการทำนา ทำสวน ทำไร่ ทำนาเกลือ ทำป่าไม้ ทำสวนยาง เลี้ยงสัตว์และกิจการคอกปศุสัตว์
(18) ประกอบกิจการโรงสี โรงเลื่อย โรงงานไสไม้และอบไม้ โรงงานต่อตัวถังรถยนต์ โรงงานผลิตเซรามิค และเครื่องเคลือบ โรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผา โรงงานอัดปอ โรงงานสกัดน้ำมันพืช โรงงานกระดาษ โรงงานกระสอบ โรงงานทอผ้า โรงงานปั่นด้าย โรงงานย้อมและพิมพ์ลวดลายผ้า โรงงานผลิตและหล่อดอกยางรถยนต์ โรงงานผลิตเหล็ก โรงหล่อและกลึงโลหะ โรงงานสังกะสี โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป โรงงานสุรา โรงงานแก๊ส โรงงานบุหรี่ โรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตเครื่องใช้พลาสติก โรงงานรีดและหล่อหลอมโลหะ โรงงานผลิตบานประตูและหน้าต่าง โรงงานแก้ว โรงงานผลิตเครื่องดื่ม โรงงานหล่อยาง โรงงานประกอบรถยนต์
(19) ประกอบกิจการโรงพิมพ์ รับพิมพ์หนังสือ พิมพ์หนังสือจำหน่าย และออกหนังสือพิมพ์
(20) ประกอบกิจการผลิตสิ่งพิมพ์ หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เข้าเล่ม เย็บปก ทำปก ทำเพลต ทำแม่พิมพ์ ถ่ายฟิล์ม ทำงานศิลป์
(21) ประกอบกิจการจัดสร้าง ทำซ้ำ และจัดจำหน่ายเทปภาพและเทปเสียง
(22) ประกอบกิจการโรงน้ำแข็ง
(23) ประกอบกิจการประมง แพปลา สะพานปลา
(24) ประกอบกิจการให้การฝึกอบรม สอน ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำด้านการเรียนการสอน ตลอดจนการศึกษาต่อต่างประเทศ
(25) ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างอาคาร อาคารพาณิชย์ อาคารที่พักอาศัย สถานที่ทำการ ถนนสะพาน เขื่อน อุโมงค์ และงานก่อสร้างอย่างอื่นทุกชนิด รวมทั้งรับทำงานโยธาทุกประเภท
(26) ประกอบกิจการเหมืองแร่ โรงงานถลุงแร่ แยกแร่ แปรสภาพแร่ หลอมแร่ แต่งแร่ สำรวจแร่ วิเคราะห์และตรวจสอบแร่ บดแร่ ขนแร่ ระเบิดหินและย่อยหิน
(27) ประกอบกิจการโรงแรม ภัตตาคาร บาร์ ไนท์คลับ โบว์ลิ่ง อาบอบนวด โรงภาพยนตร์และโรงมหรสพอื่น สถานพักตากอาคาร สนามกีฬา สระว่ายน้ำ
(28) ประกอบกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้า และคนโดยสารทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ รวมทั้งรับบริการนำของออกจากท่าเรือตามพิธีศุลกากรและการจัดระวางการขนส่งทุกชนิด
(29) ประกอบกิจการนำเที่ยว รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเที่ยวทุกชนิด
(30) ประกอบกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (เมื่อได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังแล้ว)
(31) ประกอบกิจการสั่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในวัตถุที่ประสงค์
(32) ประกอบกิจการตัดผม แต่งผม เสริมสวย ตัดเย็บและซักรีดเสื้อผ้า
(33) ประกอบกิจการรับจ้างถ่ายรูป ล้าง อัด ขยายรูป รวมทั้งเอกสาร
(34) ประกอบกิจการจัดสร้างและจัดจำหน่ายภาพยนตร์
(35) ประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และให้บริการซ่อมแซม บำรุงรักษา ตรวจสอบ อัดฉีด พ่นน้ำยากันสนิม สำหรับยานพาหนะทุกประเภท รวมทั้งบริการติดตั้ง ตรวจสอบ และแก้ไขอุปกรณ์ ป้องกันวินาศภัยทุกประเภท
(36) ประกอบกิจการบริการทางด้านกฎหมาย ทางบัญชี ทางวิศวกรรม ทางสถาปัตยกรรม รวมทั้งกิจการโฆษณา
(37) ประกอบธุรกิจบริการรับค้ำประกันหนี้สิน ความรับผิด และการปฏิบัติตามสัญญาของบุคคลอื่น รวมทั้งรับบริการค้ำประกันบุคคลซึ่งเดินทางเข้ามาในประเทศ หรือเดินทางออกไปต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยภาษีอากร และกฎหมายอื่น
(38) ประกอบธุรกิจบริการรับเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำปัญหาเกี่ยวกับด้านบริหารงานพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม รวมทั้งปัญหาการผลิต การตลาดและจัดจำหน่าย
(39) ประกอบกิจการบริการจัดเก็บ รวบรวม จัดทำ จัดพิมพ์และเผยแพร่สถิติ ข้อมูลในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การเงิน การตลาด รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินผลในการดำเนินธุรกิจ
(40) ประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชน สถานพยาบาล รับรักษาคนไข้และผู้ป่วยเจ็บ รับทำการฝึกสอน และอบรมทางด้านวิชาการเกี่ยวกับการแพทย์ การอนามัย
(41) ประกอบธุรกิจบริการรับเป็นผู้จัดการและดูแลผลประโยชน์ เก็บผลประโยชน์ และจัดการทรัพย์สินให้บุคคลอื่น
(42) ประกอบกิจการประมูลเพื่อขายสินค้าและรับจ้างทำของ ตามวัตถุที่ประสงค์ทั้งหมด ให้แก่บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล ส่วนราชการ และองค์การของรัฐ
(43) ประกอบกิจการผลิต จำหน่าย ให้เช่า หรือแลกเปลี่ยนซึ่งเทป หรือวัสดุโทรทัศน์ หรือซอฟต์แวร์ หรือแผ่นดิสก์ หรือวัสดุอื่นที่สามารถให้ภาพหรือเสียงหรือข้อมูลได้
(44) ดำเนินการติดต่อกับกระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ เทศบาลหรือราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ เจ้าพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ใดๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อที่จะได้มาซึ่งการจดทะเบียนสิทธิ กรรมสิทธิ์ ใบอนุญาต สิทธิในเครื่องหมายการค้า อุตสาหกรรม สมบัติ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ประทานบัตร สัมปทาน หรือผลประโยชน์ใดๆ ซึ่งจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือซึ่งบริษัทเห็นว่าเหมาะสมหรือพึงปรารถนาที่จะได้มา และเพื่อที่จะดำเนินการบริหาร หรือปฏิบัติตามซึ่งสิทธิสัมปทาน หรือผลประโยชน์ดังกล่าวนั้น
(45) ประกอบกิจการ โอน รับโอน รับซื้อ หรือจัดหามาโดยวิธีอื่นใด ผลิต รับจ้างผลิต บันทึก จำหน่าย เผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ และสิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อทำการแสวงหาผลประโยชน์ โดยการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่า และให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่บุคคลอื่น รวมทั้งอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิเกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์ และสิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญาไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ทั้งภายใน และต่างประเทศ รวมถึงการดำเนินการตามกฎหมายเพื่อป้องกัน ปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา และเรียกร้องค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว
(46) ประกอบกิจการผลิต รับจ้างผลิต จัดจำหน่าย ซื้อ ขาย หนังสือ นิตยสาร วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ แอพพลิเคชั่น อี-บุ๊ค (E-books) โปรแกรมสำเร็จรูป ธุรกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทุกช่องทางการจัดจำหน่าย รวมถึงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce)) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(47) ประกอบกิจการโทรคมนาคม พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งออกและนำเข้าสินค้า ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ขาย ซื้อ รับชำระเงิน เปิดรับสมัครสมาชิก ให้บริการค้นคว้าข้อมูล เก็บค่าธรรมเนียม ค่าโฆษณา ออกบัตรสมาชิก บัตรส่วนลด และบัตรที่ให้สิทธิพิเศษ รวมทั้งให้บริการสร้างและบริหารห้างสรรพสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต (Internet) การประกอบการค้าบนอินเตอร์เน็ต หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) ตลอดจนธุรกรรมทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ทุกประเภท ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
(48) ประกอบกิจการรับออกแบบ วางระบบ ติดตั้ง ปรับปรุง พัฒนา แก้ไขเว็บไซต์ โฮมเพจ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ คลื่นแอรดเซียนต่างๆ
(49) ประกอบกิจการเกี่ยวกับการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การให้บริการหักบัญชี (Clearing) การให้บริการชำระดุล (Settlement) การให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือผ่านทางเครือข่าย การให้บริการสวิตซ์ชิ่งในการชำระเงินหลายระบบ (Transaction Switching) การให้บริการรับชำระเงินแทนการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อสินค้า และหรือรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการหลายราย โดยไม่จำกัดสถานที่และไม่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน (e-Money) (เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเพื่อประกอบธุรกิจดังกล่าวจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง)
(50) ประกอบธุรกิจเพื่อให้บริการพัฒนา การเป็นที่ปรึกษา ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทางอินเตอร์เน็ต ระบบคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิด พัฒนาระบบการชำระเงิน พัฒนาระบบการขนส่งสินค้า พัฒนาระบบการขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต
(51) ประกอบกิจการบริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ รวมทั้งเป็นผู้จัดการและดูแลผลประโยชน์ เก็บผลประโยชน์ และจัดการทรัพย์สินให้บุคคลอื่น เป็นตัวกลางในการชำระเงินค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใด รวมถึงการให้บริการเครือข่ายในการชำระเงินด้วยวิธีการต่างๆ
(52) ประกอบกิจการ หรือเข้าร่วมลงทุน ทำการเป็นตัวแทน เป็นผู้ดำเนินกิจการแทน โรงเรียนอาชีวะเอกชน โรงเรียนกวดวิชา สถานศึกษา สถานฝึกอบรม สถานสอนภาษา วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย รวมถึงโรงเรียนสอนศิลปะทุกแขนง ทั้งการวาดภาพ การแสดง การร้องเพลง การเล่นดนตรี การใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่างๆ ทำอาหาร ตลอดจนรับทำการสอน ฝึกอบรม จัดสัมมนาวิชาการทุกสาขา (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว)
(53) ประกอบกิจการติดต่อสถาบัน หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน เพื่อจัดส่งนักเรียนไปฝึกอบรม ดูงานหรือศึกษาต่อ ในประเทศ และต่างประเทศ
(54) ประกอบกิจการให้การฝึกอบรม กิจกรรมสันทนาการ และสัมมนาความรู้ ด้านวิชาการทุกสาขาวิชา ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านการสื่อสารเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้านกฎหมายการเงินและการบัญชี ภาษีอากร ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ด้านดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การผลิต และถนอมอาหาร และวิชาการใดๆ ซึ่งไม่ใช่การเรียนการสอนอันประกอบอาชีพปกติ รวมถึงทำการวิจัย เป็นศูนย์กลางวิจัย ให้บริการเป็นที่ปรึกษา เช่น ทางภาษา วัฒนธรรม กฎหมาย วิทยาศาสตร์ การเกษตร การสหกรณ์ การคมนาคม การสื่อสาร การโทรคมนาคม การเศรษฐกิจ การคลัง การพาณิชย์ การธุรกิจ การพลังงาน เทคโนโลยี การสถิติ การชลประทาน การกีฬา การอนามัย การสาธารณสุขการแพทย์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การพัฒนาชุมชน การศึกษา การบริการสังคม การอุตสาหกรรม การป่าไม้ การอนุรักษ์ธรรมชาติ การจัดหาข้อมูล การสารสนเทศ เป็นต้น
(55) ประกอบธุรกิจโดยเปิดรับสมัครสมาชิก เก็บค่าธรรมเนียม ค่าโฆษณา รวมไปถึงให้มีการออกบัตรสมาชิก บัตรส่วนลด และบัตรที่ให้สิทธิพิเศษแก่บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล
(56) ประกอบกิจการจำหน่าย รับจอง จัดจำหน่าย บัตรและตั๋วทุกประเภท ตั๋วเครื่องบิน ตั๋วเรือ ตั๋วรถโดยสาร รถขนส่งมวลชน ตั๋วรถไฟ ตั๋วรถไฟใต้ดิน ตั๋วรถไฟฟ้า บัตรชมภาพยนตร์ บัตรชมการแสดง บัตรชมสวนสัตว์ บัตรชมนิทรรศการ บัตรชมการแข่งขันทุกชนิด ทุกประเภท ในทุกช่องทางการจำหน่ายประกอบกิจการ
(57) ประกอบธุรกิจจัดทำการออกบัตร จำหน่ายบัตรประเภทต่างๆ ตัวอย่างเช่น บัตรซื้อของเชื่อ (ชาร์จการ์ด) บัตรเครดิต (เครดิตการ์ด) บัตรที่ชำระราคาสินค้าหรือบริการด้วยวิธีการหักบัญชี (เดบิทการ์ด) บัตรซื้อสินค้าแบบลดราคา (ดิสเค้าท์การ์ด) บัตรที่ชำระเงินล่วงหน้าหรือบัตรที่บันทึกมูลค่าเงินค่าสินค้าหรือบริการไว้ในบัตร (พรีเพดการ์ด หรือสตอร์ แวลู การ์ด) บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัตรอื่นใด และธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากกิจการให้บริการบัตรดังกล่าวข้างต้น ให้แก่สมาชิกบัตรหรือลูกค้าของบริษัทเพื่อใช้ซื้อสินค้าใดๆ และ/หรือบริการทั่วไปได้จากสถานประกอบการต่างๆ ซึ่งมีสัญญายอมรับบัตรดังกล่าวเพื่อการขายสินค้าและ/หรือให้บริการ รวมทั้งให้บริการเติมเงินลงในบัตรเงินสด และบัตรอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ให้แก่สมาชิกบัตร หรือลูกค้าของบริษัทเพื่อใช้ซื้อสินค้า และ/บริการใดๆ
(58) ประกอบกิจการผลิต จ้างผลิต รับจ้างผลิต ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน เช่าให้เช่าเช่าซื้อ หรือกระทำนิติกรรมใดให้ได้มาซึ่งเนื้อหารายการวิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี ภาพยนตร์ วิดีโอ วัสดุวีดิทัศน์ โทรทัศน์วงจรปิด รวมทั้งที่เป็นการแสดงภาพ เสียง รวมทั้งการประกอบกิจการค้าสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวีภาพยนตร์ วิดีโอ สารคดี สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และสื่อสารทุกชนิด ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว)
(59) ประกอบกิจการและบริการโทรคมนาคม การสื่อสารทุกชนิดทุกประเภท ตลอดจนการผลิต ซื้อ ขาย ค้า มี ติดตั้ง แก้ไข ซ่อมแซม บำรุงรักษา จำหน่าย สั่งเข้ามาในประเทศ หรือส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งเครื่องโทรคมนาคมทุกชนิดทุกประเภท เครื่องมือสื่อสาร และอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดถึงเครื่องวิทยุคมนาคมทุกชนิด เครื่องรับ-ส่งวิทยุกระจายเสียง เรดาร์ โทรทัศน์ เครื่องรับ-ส่งวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ เครื่องรับโทรศัพท์ เครื่องโทรศัพท์ระบบขยายเสียง เครื่องโทรศัพท์ระบบตู้สาขาอัตโนมัติ เครื่องโทรศัพท์ระบบบันทึกเสียงจากโทรศัพท์ เครื่องโทรศัพท์ระบบติดต่อภายในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม สำนักงาน เครื่องโทรศัพท์ชนิดสวมหู เครื่องโทรศัพท์สาธารณะ เครื่องโทรศัพท์ชนิดหยอดเหรียญ เครื่องหยอดเหรียญโทรศัพท์ โทรเลข โทรพิมพ์ โทรภาพ โทรสาร อุปกรณ์การสื่อสารผ่านดาวเทียมทุกชนิดทุกประเภท เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม จานรับ-ส่งสัญญาณดาวเทียม ระบบเครื่องวิทยุโทรคมนาคม เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับส่งสัญญาณวิทยุ วิทยุติดตามตัว และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท รวมทั้งอุปกรณ์และอะไหล่ของสิ่งดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์อย่างอื่นที่มีลักษณะคล้ายหรือเป็นประเภทเดียวกับสินค้าด้งกล่าวข้างต้น และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว)
(60) ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์หรือกระจายภาพ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ผ่านโครงข่ายช่องสัญญาณวิทยุ โทรทัศน์ เสียง ทางสายเคเบิลทีวี ทั้งข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และโครงข่ายอื่นๆ เพื่อนำเนื้อหาและรายการออกเผยแพร่ผ่านโครงข่ายดังกล่าว รวมทั้งซื้อช่องสัญญาณ ซื้อเวลา ให้เช่าเวลาช่องสัญญาณในการออกอากาศ และดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาต รวมถึงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือต่ออายุใบอนุญาต ในการประกอบกิจการดังกล่าว ต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว)
(61) ประกอบกิจการโทรคมนาคม การส่ง การรับ การแพร่ สัญญาณภาพ เสียง ตัวหนังสือ รหัส ตัวเลข หรือสัญลักษณ์อื่นใดซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้โดยระบบสาย ระบบไร้สาย ระบบคลื่นความถี่ ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าหรือระบบอื่น ระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบรวมกัน รวมถึงบริการรับส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เสียงทางสาย วิทยุโทรทัศน์ทางสายเคเบิลทีวี ทั้งข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง รวมทั้งบริการส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งภาคพื้นดิน ภาคอากาศ ภาคอวกาศ ภาคใต้พื้นดิน ภาคทางน้ำ ทะเลและมหาสมุทร และประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสาร และให้ใช้วงจรดาวเทียมสื่อสาร วงจรดาวเทียมสื่อสารที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงคมนาคมทุกชนิดทุกประเภททั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว)
(62) ประกอบกิจการโทรคมนาคม และให้บริการช่องรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านช่องทางสัญญาณดาวเทียม สัญญาณดิจิตอล สัญญาณอินเตอร์เน็ตทุกชนิด รวมถึงให้บริการอินเตอร์เน็ต (INTERNET) อันหมายถึง การให้บริการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการกันในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (INTERNET) เพื่อการติดต่อและให้ระบบสารสนเทศร่วมกันเฉพาะบริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การอ่านและบันทึกแผงข่าวและการประยุกต์ใช้งานบนเครือข่าย อาทิเช่น การเข้าถึงศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ห่างไกล การโอนแฟ้มข้อมูลจากเครื่องอื่นๆ บนเครือข่าย การท่องไปในเครือข่ายด้วยโปรแกรมสืบค้นข้อมูลประเภทต่างๆ การโต้ตอบ (INTERACTIVE) กับผู้ใช้เครือข่ายอื่นๆ โดยการได้รับสิทธิหรืออนุญาตจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธุรกิจอันเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม และธุรกิจอื่นที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกัน ให้บริการด้านข่าวสาร ข่าวภาพ โทรพิมพ์ และประกอบกิจการและให้บริการด้านวิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารมวลชนและกิจการสื่อสารโทรคมนาคมทุกชนิด ทุกประเภท รวมทั้งการจัดทำ จัดหา รับจ้างจัดทำ จัดหาแถบบันทึกภาพ เครื่องรับส่งวิทยุ เครื่องรับส่งโทรทัศน์ เครื่องรับส่งวิดีโอ และอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมทุกชนิดทุกประเภท รวมถึงวัสดุอุปกรณ์อันจำเป็นที่เกี่ยวข้องเพื่อความสมบูรณ์แห่งกิจการที่ได้ประกอบกิจการหรือที่ได้ให้บริการ หรือที่ได้รับจ้างทำ หรือที่ได้รับจ้างหา (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว)
(63) ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ศูนย์แสดงสินค้า รีสอร์ท โฮมสเตย์ โรงแรม ภัตตาคาร โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ สถานพักต่างอากาศ ร้านอาหาร ร้านขายหนังสือ ร้านกาแฟ ร้านจำหน่ายเครื่องดื่ม สถานที่นวดแผนโบราณ สปา บาร์ ไนท์คลับ สถานออกกำลังกาย ศูนย์บริการเพื่อสุขภาพ ศูนย์พักผ่อนและคลายเครียด และสนามกีฬาทุกชนิด
(64) ประกอบกิจการจัดหาหรือบริการที่พักแรม ห้องสัมมนา เต็นท์สนาม นำเที่ยว เครื่องเล่นภาคสนามแอดเวนเจอร์ ล่องแก่ง ล่องแพ เรือแคนู เรือ คยัค จักรยานเสือภูเขา กิจกรรมผจญภัย ค่ายกิจกรรมและกิจกรรมอื่นๆ ทุกชนิด รวมถึงให้บริการแสง เสียง เครื่องดนตรี เวที จัดการเวทีมีเครื่องดนตรี และการแสดงทุกชนิด การให้บริการจอง หรือจำหน่ายตั๋วเดินทาง โรงแรม สถานที่พักผ่อนและสถานที่พักแรมทุกชนิด จัดหา (โดยการว่าจ้างหรือโดยวิธีอื่น) ซึ่งมัคคุเทศก์ ตู้นิรภัย สำนักงานสอบถามข้อมูล ห้องสมุด ห้องน้ำ ห้องอ่านหนังสือ บริการเก็บรักษากระเป๋าเดินทาง บริการขนส่ง และรับจัดทัวร์และดำเนินงานด้านการท่องเที่ยว
(65) ประกอบกิจการให้บริการจัดส่งเอกสาร พัสดุภัณฑ์ ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ รวมถึงการให้บริการบรรจุหีบห่อสินค้า และพัสดุภัณฑ์ต่างๆ ประกอบกิจการเป็นตัวแทนของสายการบิน และการเดินเรือระหว่างประเทศ ประกอบกิจการจำหน่าย ซอง กล่อง และวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ในการบรรจุเอกสาร หีบห่อสินค้า และพัสดุภัณฑ์
(66) ประกอบกิจการผลิตและจำหน่าย เครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า ซื้อ ขาย จัดหา ติดตั้ง สร้าง บำรุงรักษา สะสม สำรอง และดำเนินการ และธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า แหล่งพลังงานอันได้มาจากธรรมชาติ แหล่งพลังงานหมุนเวียน แหล่งพลังงานทดแทน ในรูปแบบต่างๆ ให้แก่ภาครัฐ และเอกชน
(67) ประกอบกิจการหรือเป็นตัวแทนการค้า รับซื้อ จำหน่ายของเก่าหรือของมือสองทุกชนิด ทุกประเภท (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว)
(68) ประกอบกิจการค้า รับซื้อ จำหน่าย จัดจำหน่ายเครื่องกีฬา และอุปกรณ์กีฬาทุกประเภท รวมตลอดถึงรองเท้า เสื้อผ้า กางเกง กระเป๋า เครื่องใช้ สำหรับการเล่นกีฬาทุกชนิด ตลอดจนเครื่องชั่ง เครื่องตวง เครื่องวัด เครื่องและอุปกรณ์ดนตรี เครื่องและอุปกรณ์ด้านรักษาความปลอดภัยทุกประเภท
(69) ค้ำประกัน ใช้เงินสด เช็ค ตั๋วแลกเงิน สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือสถาบันการเงินอย่างอื่น สลากออมสิน พันธบัตรรัฐบาล โฉนดที่ดิน และหรือหลักทรัพย์อื่นๆ ของบริษัท เพื่อค้ำประกันบุคคลหรือนิติบุคคลในการทำนิติกรรม หรือวางประกันผู้ต้องหา จำเลย หรือ บุคคลอื่นซึ่งถูกจับกุม หรือถูกควบคุมตัวในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
(70) ค้ำประกัน หรือวางหลักประกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือองค์กรที่มีอำนาจอื่นๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำสัญญาประกันเพื่อให้ปล่อยตัวกรรมการ ผู้ถือหุ้น เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของบริษัท ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาในการกระทำความผิดทางอาญาใดๆ จากการควบคุม หรือค้ำประกัน หรือวางหลักประกันกับกรรมการ ผู้ถือหุ้น เจ้าหน้าที่ หรือพนักงานของบริษัทในคดีแพ่งต่างๆ ต่อศาล หรือองค์กรที่มีอำนาจอื่นๆ ทั้งนี้ โดยมิได้ทำเป็นการค้า
(71) ฟ้องคดีและสู้คดี เสนอข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและเข้าทำสัญญาและประนีประนอมยอมความในศาลไม่ว่าที่ใดในโลก ในการดำเนินงานตามวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทและรับเป็นที่ปรึกษากฎหมายและผู้แทนของบุคคลอื่น
(72) ประกอบกิจการผลิต รับจ้างผลิต ซื้อ ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า แลกเปลี่ยน นำเข้า ส่งออก การแพร่ภาพ การจัดฉาย ให้บริการ และจัดจำหน่ายโดยประการใดๆ ซึ่งเทป วัสดุโทรทัศน์ วีดิทัศน์ วัสดุบันทึกเสียง วัสดุบันทึกเสียงและภาพ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น วีซีดี ดีวีดี เอ็มพี3 เอ็มพี4 เป็นต้น ทั้งในระบบแอนะล็อก ระบบดิจิตอล และระบบอื่นๆ ทุกประการ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการตามวัตถุประสงค์ข้อนี้ (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว)
(73) ประกอบกิจการด้านการบันเทิง โฆษณาประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย การดำเนินการจัดงานนิทรรศการ การแสดงสินค้า จัดคอนเสิร์ต ละครเวที เผยแพร่งานประเพณี งานเทศกาล แสดงดนตรี ละคร ภาพยนตร์ การประชุมสัมมนา การกีฬา ตลอดจนเป็นผู้ดำเนินการจัดหาพื้นที่การจัดงาน หรือขายพื้นที่สำหรับการจัดงานหรือการแสดงสินค้าทุกชนิด
(74) ประกอบกิจการสั่งเข้ามาจำหน่ายหรือส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิด ทุกประเภท รวมทั้งรับบริการติดตั้ง ซ่อมแซม บำรุงรักษา ให้คำแนะนำในการใช้ ฝึกอบรม ฝึกสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ รับดำเนินการให้กับบริษัท ห้าง ร้าน ในธุรกิจทุกด้านโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การทำบัญชี การคำนวณเพื่อเสียภาษี การรับลงรายการต่างๆในบัตรรายการหรือโปรแกรมและให้เช่าหรือให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนดำเนินธุรกิจโรงเรียนหรือสถาบันอันเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว)
(75) ประกอบกิจการค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซอฟท์แวร์ เครื่องบันทึกมูลค่าของสินค้า หรือบริการไว้ในบัตร ระบบในการหักชำระหนี้ เครื่องรับชำระเงิน เครื่องหักบัญชี เครื่องฝากเงิน เครื่องถอนเงิน เครื่องอ่านบัตร เครื่องสอดบัตร เครื่องส่งบัตร เครื่องคิดเลข เครื่องทำบัญชี เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องรับส่งวิทยุทุกชนิด เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องเรดาร์ เครื่องโซนาร์ เครื่องเลเซอร์ เครื่องเสียง เครื่องบันทึกภาพ เครื่องทำความร้อน เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องควบคุมความชื้น เครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม รวมทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ของสินค้าดังกล่าวข้างต้น
(76) ประกอบกิจการหรือเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าด้วยเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ จำหน่าย ให้เช่า ให้เช่าซื้อให้บริการ เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ รวมทั้งอะไหล่ และอุปกรณ์ของเครื่องดังกล่าว
(77) ประกอบกิจการธุรกิจแฟรนไชส์ ตามวัตถุประสงค์ของบริษัท
(78) ประกอบกิจการค้า ผลิต จำหน่าย นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่ง อาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาหารเสริม อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก วิตามิน สำหรับคนและสัตว์ทุกชนิด (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว)
(79) ประกอบกิจการค้า น้ำมันเชื้อเพลิง ถ่านหิน น้ำมันเครื่อง น้ำมันเอนกประสงค์ น้ำมันหล่อลื่นทุกชนิด ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดพลังงาน ตลอดจนสถานที่เก็บน้ำมัน (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว)
(80) ประกอบกิจการค้าส่ง และค้าปลีกสินค้าอุปโภค บริโภค สินค้าเกษตรทุกชนิด สินค้าอุตสาหกรรมทุกชนิด ร้านค้าสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต สถานที่เก็บสินค้าของบริษัท ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารและไม่ใช่ผลิตภัณฑ์อาหาร และธุรกิจบริการทุกชนิด
(81) ประกอบกิจการร้านค้าปลีก และร้านจำหน่ายสินค้าตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์
(82) ประกอบกิจการค้า ผลิต จำหน่าย นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่ง ของใช้สำหรับเด็กทุกชนิด ของเล่นเด็กทุกชนิด เครื่องมือบริหารร่างกายทุกชนิด อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสุขภาพ และกระเป๋าทุกชนิด
(83) ประกอบกิจการนำเข้า ส่งออก รวบรวม ขาย ผลิต จำหน่าย จัดหา นำผ่าน นายหน้า ตัวแทน ตัวแทนค้าต่าง ทำการค้า ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่ง เมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ควบคุม เมล็ดพันธุ์พืช พันธุ์ดอกไม้ พันธุ์ผัก พันธุ์ต้นไม้ เชื้อเห็ดทุกชนิด ยากำจัดโรคพืช ยากำจัดวัชพืช วัคซีนพืชและสัตว์ทุกชนิด โรงเรือน เครื่องมือเครื่องใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการเกษตรทุกชนิด ตลอดจนการบำรุงรักษาในการเกษตรและเพาะปลูกพืชผลทุกชนิด (เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว)
(84) ประกอบกิจการค้า ผลิตภัณฑ์จากงานศิลปกรรมทุกชนิด เช่น ภาพวาด รูปปั้น รูปแกะสลัก รูปหล่อ ทั้งที่ทำด้วยปูน โลหะ หรือทำจากวัตถุอื่นใด
(85) เข้าทำความตกลงและทำสัญญากับหน่วยงานราชการ เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นใดๆ หรือหน่วยงานอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ของบริษัท และขอรับสิทธิ ใบอนุญาต สิทธิพิเศษ และสัมปทานจาก หน่วยงานราชการ เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ซึ่งบริษัทเห็นว่าเหมาะสม และดำเนินการใช้สิทธิและปฏิบัติตามข้อตกลง สัญญา สิทธิ ใบอนุญาต สิทธิพิเศษและสัมปทานใดๆ นั้น
(86) ประกอบกิจการบริหารคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งมีไว้เพื่อกิจการของตนเองโดยมิได้รวมถึงการจัดเก็บสินค้าที่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจอันมีสภาพคล้ายคลึงกับกิจการคลังสินค้า
(87) กระทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยน เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ กู้ยืม จำนอง จำนำ เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการคลังสินค้า
(88) ประกอบกิจการรับทําการเก็บรักษาสินค้าในคลังสินค้า เพื่อบําเหน็จเป็นทางการค้าปกติ ไม่ว่าบําเหน็จนั้นจะเป็นเงิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ จะประกอบกิจการได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากกรมการค้าภายในแล้ว
(89) ประกอบกิจการรับทําการเก็บรักษาสินค้าในไซโล เพื่อบําเหน็จเป็นทางการค้าปกติ ไม่ว่าบําเหน็จนั้นจะเป็นเงิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ จะประกอบกิจการได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากกรมการค้าภายในแล้ว
(90) ประกอบกิจการรับทำการเก็บรักษาสินค้าในห้องเย็น เพื่อบําเหน็จเป็นทางการค้าปกติ ไม่ว่าบําเหน็จนั้นจะเป็นเงิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ จะประกอบกิจการได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากกรมการค้าภายในแล้ว
(91) ประกอบกิจการโฆษณา ออกแบบโฆษณา การตีพิมพ์และบริการนายหน้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต สิ่งพิมพ์ และสื่อต่างๆ รวมถึงบริการให้เช่าพื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ต ทางสิ่งพิมพ์และสื่อต่างๆ
(92) ประกอบกิจการให้เช่า หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งอุปกรณ์เกี่ยวกับโทรคมนาคม เครื่องทุ่นแรง ยานพาหนะ เครื่องจักรกล เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอุปกรณ์ของสิ่งดังกล่าว
(93) ประกอบกิจการให้บริการจัดเก็บเอกสาร ทรัพย์สิน รวมทั้งให้บริการอื่นอันเกี่ยวกับระบบการจัดเก็บเอกสาร ทรัพย์สิน และบริการจัดการซึ่งเอกสารที่หมดอายุแล้ว โดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
(94) ประกอบธุรกิจให้เช่าพื้นที่และรับฝากสินค้าโดยได้รับเงินค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใด
(95) ให้ผู้ฝากสินค้ากู้ยืมเงินโดยเอาสินค้าที่ฝากไว้นั้น จำนำไว้เป็นประกันโดยได้รับดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นใดเป็นค่าตอบแทน
(96) ให้บริการด้านความเย็นเพื่อเก็บรักษาสินค้า รับอบพืชเพื่อลดความชื้น กะเทาะ คัด ผสม หรือด้วยกรรมวิธีอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ของผู้ฝากโดยได้รับค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์อื่นใด (จะประกอบกิจการได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากกรมการค้าภายในแล้ว)
(97) ประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง